當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 瞭解歷史淵源,窺探泰國人眼中的中泰“朝貢貿易”

瞭解歷史淵源,窺探泰國人眼中的中泰“朝貢貿易”

推薦人: 來源: 閱讀: 2.57W 次

中國和泰國之間的關係在歷史上非常久遠,自素可泰王朝時期泰國就和中國有了往來,後來逐漸發展成了聲勢浩大的“朝貢貿易”,泰國王室派出遠洋船來到中國,穿上滿載泰國的奇珍異寶,敬獻給中國皇帝,再從中國皇帝那裏獲得價值更大的回禮,這樣的朝貢貿易關係延續了數百年,但當到了拉瑪四世時期,這一切都開始不一樣了,到底是怎麼回事?一起來看看吧!

瞭解歷史淵源,窺探泰國人眼中的中泰“朝貢貿易”

สมัยรัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2347-2411) พระองค์รับสั่งให้ “ยกเลิกส่งเครื่องบรรณาการจิ้มก้องกับจีน” ซึ่งดำเนินมาหลายร้อยปี ทั้งทรงมีราชวินิจฉัยว่า เหตุใดการจิ้มกองกับจีนจึงยินยาวมานานนับร้อยๆ ปี
曼谷王朝拉瑪 四世王(公元1804-1868年)下令停止和中國進行了幾百年的朝貢貿易,那麼和中國的朝貢貿易爲什麼能連續進行數百年呢?

ซึ่งประเด็นดังกล่าวคือหัวข้อหนึ่ง ในงานวิชาการเฉลิมฉลองสัมมนาเรื่อง “200 ปีพระเจ้ากรุงสยาม” เมื่อปี พ.ศ. 2547 ที่เป็นวาระครบรอบ 200 ปีประสูติกาลของรัชกาลที่ 4 ที่มูลนิธิโครงการตําราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ร่วมกับมูลนิธิโตโยต้า ประเทศไทย และบริษัทโตโยต้า มอเตอร์ จัดขึ้น
上述話題是“ 暹羅國王200年”慶典學術座談會的話題之一,2004年是拉瑪四世王200週年誕辰,本次座談會由人文學科教科書項目基金會、泰國豐田基金會和豐田汽車公司共同舉辦。

ภายหลังมูลนิธิโครงการตําราฯ จัดทำเป็นเอกสารชื่อ “โลกของพระเจ้ากรุงสยามกับวิเทโศบาย” โดยอาจารย์ชาญวิทย์ เกษตรศิริ และ อาจารย์กัณฐิกา ศรีอุดม จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนมานำเสนอดังนี้
後來,人文學科教 科書項目基金會根據此次座談會集合成了名爲《暹羅國王的世界和外交政策》的文件,Chanvit Kasetsiri和Kanthika Siriudom老師選取了文件中的部分內容做出如下介紹。

ประกาศหมายเลข 309 “เรื่องราชทูตไปเจริญทางพระราชไมตรี” ขนาดยาวเป็นพิเศษออกมาในปี 2411/1868 ปีเดียวกับที่เสด็จสวรรคตนั้น ความตอนหนึ่งว่า “การรับและการส่งพระราชสาส์นไปเมืองจีน เป็นต้นเหตุเดิม มาหลายร้อยปีแล้ว”
超長的309號公告,題爲“外交使團增進皇家友誼”,在1868年發出,也是拉瑪四世駕崩的這年,其中有一段內容提到:“接收並向中國送出皇家信件,是延續了數百年的起因。”

ประกาศนี้คงจะร่างขึ้นโดยพระจอมเกล้าฯ เอง ดังนั้นถ้อยคําและสํานวนจึง “แข็งแรง” ถึงขนาดกล่าวว่า ความสัมพันธ์ไทย-จีน “หลายร้อยปี” ในระบบ “จิ้มก้อง” และบรรณาการนั้นมีมาได้ก็เพราะ “พระเจ้าแผ่นดินโง่ เสนาบดีเซอะ ราษฎรโซ” นั่นเอง ทั้งยังทรงพรรณนาอย่างละเอียดลออว่า
這份公告由 拉瑪四世起草,所以用詞十分強硬,提到了中國和泰國的朝貢貿易關係延續數百年,說之所以這樣都是因爲“國王愚蠢,官員遲鈍,民衆貧困”,還詳細描述了:

瞭解歷史淵源,窺探泰國人眼中的中泰“朝貢貿易” 第2張

ความสัมพันธ์เช่นว่านี้ถูกพ่อค้าสําเภาจีน “หลอก” เพื่อ “จะเก็บสินค้า ของป่าต่างๆ ส่งไปขายในประเทศจีน… พวกจีนทั้งหลาย… ทํามาหากิน จนมั่งมีเงินทอง… จึงลงทุนต่อสําเภาบรรทุก สินค้าต่างๆ ในเมืองไทยไปขายเมือง จีนได้กําไร… (แล้ว) จึงเลือกซื้อสิ่งของที่ประหลาดๆ ต่างๆ ในเมืองกวางตุ้ง เลือกเอาแต่ที่ดีๆ เข้ามาเป็นของถวายพระเจ้าแผ่นดินสยาม… พระเจ้าแผ่นดินไทยได้รับของถวาย แลเสนาบดีไทยได้รับกํานัล ของพวกจีนนั้นๆ ก็มีความยินดีโสมนัสมากเพราะหลงโลภ”
這樣的關係是被中國的商船欺騙 了,目的是爲了“收集各種野生土產賣到中國…華人通過謀生都變得發達…所以投資將泰國的貨物裝上商船拿到中國售賣,獲得利潤後…所以在廣東挑選各種珍奇的商品,只選擇那些好的來敬獻給暹羅國王…暹羅國王獲得了敬獻品,官員獲得利潤,華商們也很開心,因爲他們貪圖利益。”

พระจอมเกล้าฯ ทรงบรรยายต่อไปอย่างชัดเจนว่า ทั้งพระเจ้าแผ่นดิน และขุนนางไทยถูก “อุบาย” ให้ “มีพระราชสาส์นแลเครื่องมงคลราชบรรณาการ… ให้ทูตไทยออกไปเจริญทางพระราชไมตรี… กับพระเจ้าแผ่นดินจีน… โปรดให้…แต่งพระราชสาส์นฉบับหนึ่งเป็นอักษรไทย มีความว่าขอเป็นทางพระราชไมตรีต่อกรุงปักกิ่งเพื่อประโยชน์จะไปมาค้าขาย พระราชสาส์นนั้นให้จานลงในแผ่นทองคํา แล้วม้วนไว้ในกล่องทองคําประดับพลอยต่างๆ สี…
拉瑪四世還非常清楚地講解說,暹羅的國王和貴族都被欺騙說有皇家信件和貢品…讓暹羅使團和中國皇帝去建立友好關係…請求國王寫了一封泰語的信件,內容是希望暹羅與中國能建立 友好關係,爲了彼此之間的商貿利益,這封皇家信件被鍍在了金箔中,捲起來收藏在各色寶石裝飾的金盒子裏面…

พระเจ้าแผ่นดินไทยในเวลานั้นหลงใหล เชื่อคําพวกจีนเหล่านั้นกราบทูลหลอกลวงต่างๆ ช่างโง่เง่าทั้งพระเจ้าแผ่นดินแลเสนาบดี จึงยอมให้จีนพวกนั้นแต่งพระราชสาส์นเป็นหนังสือจีน แต่ว่ารับสั่งว่าให้ล่ามจีนพวกนั้นแต่งตามฉบับสําเนาความในพระราชสาส์นซึ่งเป็นอักษรไทย แลความไทย”
當時的暹羅國王愚 笨,相信了當時華人的話,暹羅的國王和官員太愚蠢了,纔會讓華人寫出了一封中文皇家信件,讓華人翻譯根據信件的內容翻譯出了一封泰語的信件。”

จากนั้นก็ทรงอรรถาธิบายต่ออย่างละเอียดว่า กระบวนการ “จิ้มก้อง” นั้น ทําอย่างไร ฝ่ายไทยต้องเดินทางโดยทะเลไปยังเมืองกวางตุ้งซึ่ง “พระเจ้ากรุงปักกิ่งโปรดพระราชทานที่แผ่นดินแห่งหนึ่ง ที่เมืองกวางตุ้งนั้น เรียกว่า กงกวนเป็นที่ของไทย สําหรับทูตไทยไปจะได้พักอาศัย จัดซื้อของต่างๆ ตามประสงค์ แล้วได้ตึกใหญ่ 4 หลังเป็นที่พัก”
後來又詳細解釋了“進 貢”的流程,需要怎麼做?暹羅的船隊要先航行到廣東,“中國的皇帝在廣東城爲暹羅的使團御賜了一塊地,讓他們在那裏休息,可以購買各種東西,還有4棟大房子居住。”

ก่อนที่จะเดินทางทะเลไปกวางตุ้งนั้น พระจอมเกล้าฯ รัชกาลที่ 4 ทรงบรรยายรายละเอียดของพิธีกรรมที่เกินเลยไว้ว่า ต้องแห่แหนพระราชสาส์นเป็นการเอิกเกริก กล่าวคือเมื่อออกจากสยาม ก็ “ตั้งบนพานทองคํา 2 ชั้น คือพานแว่นฟ้า แล้วก็เชิญพานพระราชสาส์นตั้งบนบุษบกปิดทองมีคานหาม แต่พวกทูตานุทูตไทยที่จะไปนั้นก็แต่งตัวจนเกินงามในเวลานี้ แต่ในเวลาก่อนนั้นเขาจะเข้าใจว่าเป็นการดีแท้ แต่งตัวสรวมชะฎาทองคํา มีท้ายเชิด แล้วประดับสายสร้อยมะยมทองคําพัวพันคอรุงรัง
在出發去廣東 之前,拉瑪四世還詳細提到了出征前過分繁瑣的儀式,需要爲皇家信件舉行盛大的遊行,當信件離開暹羅時,“在盤中放上兩層黃金,然後再將信件請出來放在鍍金的寶座上,要前往中國的暹羅使臣也是打扮過分華麗,在當時是非常高級的打扮,頭戴黃金頭冠,後面翹起,頸上還掛滿了黃金項鍊。”

และพระราชสาส์นเมื่อจะออกจากพระราชวังกรุงเก่านั้นก็มีแห่แหนอื้ออึง พานพระราชสาส์นนั้นเชิญขึ้นตั้งบนพระยานุมาศ แลมีเครื่องสูงเทวะดาแห่หน้า หลังมี แตรสังข์ กลองชนะ พิณพาทย์ พลถือธงต่างๆ บางสิ่งแห่หน้าหลัง โห่ร้อง อื้ออึงมาลงเรือเอกไชย เรือรูปสัตว์ต่างๆ ยังมีเรือแห่เป็นขบวนแห่หน้าหลัง คั่งคับตามลงมาส่งจนถึงเมืองสมุทรปราการ แล้วส่งขึ้นเรือใบน้อยๆ เป็นเรือลําเลียง
當皇家信件離開王宮是也有盛大的遊行,信件被請出來放置在轎子上,前面有代表神仙身份的高貴器物,後面有螺號、鑼鼓、箏琴伴奏,民衆們拿着旗子在遊行隊伍的前後,呼喊下到動 物形狀的船中,前後還有遊行的船隊,聲勢浩大地送到北欖城,然後送到一艘艘小帆船上。

แต่ลงไปในเรือแล้วยังมิหนําซ้ำให้มีกลองชนะ แตรสังข์ตามไป ประโคมเพื่อจะให้เป็นการสําหรับยศพระราชสาส์น ประโคม 3 เวลาเช้า ค่ำและกลางวันเสมอไป เวลานั้นพระเจ้าแผ่นดินไทยแลเสนาบดีก็มีแต่การ ขวนขวายแต่จะแสดงยศจะอวดอํานาจเจ๊ก ไม่คิดถึงอายอดสูแก่ประเทศอื่นเลย”
送到船上之後還會有螺號和鑼鼓跟着,爲皇家信件演奏,演奏分爲3個時間段,早上、中午和晚上。當時暹羅的國王和官員也非常熱衷於此,向華人們炫耀自己的權利,但是沒有想到會在其他國家面前 丟臉。”

จากกวางตุ้งก็ต้องเดินทางต่อ โดยทางบกที่ใช้เวลากว่า 3 เดือน ทั้งนี้ทั้งเป็นไปเพื่อเกียรติยศของพระเจ้ากรุงปักกิ่งแต่ฝ่ายเดียว ที่นั่น “พระเจ้ากรุงปักกิ่งก็เสด็จออกรับพระราชสาส์นแลทูตไทย รับเมืองไทยเป็นเมืองก้อง คือรับอย่างหัวเมืองขึ้น พระเจ้ากรุงปักกิ่งพระราชทานหองตั้งพระเจ้าแผ่นดินไทยเป็นเมืองก้องจีนมา คือตั้งเมืองไทยเป็นเมืองขึ้นแก่กรุงปักกิ่ง”
到了廣東之後還要繼續趕路,在陸路上要行走超過3個月,這都是爲了彰顯中國皇帝的榮耀,在那裏“京城的皇帝會出來迎接來自暹羅的信件和使團,接受暹羅爲進貢國,就 好像是接收成爲一個附屬國一樣,中國皇帝將暹羅國王接受爲進貢國,就意味着暹羅成爲了中國的附屬國。”

瞭解歷史淵源,窺探泰國人眼中的中泰“朝貢貿易” 第3張

น่าสนใจที่ในความสัมพันธ์อันไม่เท่าเทียมกันหรือ “เสียมาแต่เดิม” นี้ รัชกาลที่ 4 ก็ทรงให้อรรถาธิบายว่าได้ดําเนิน “ล่วงแล้วกว่า 500 ปีเศษ” (ถ้าคํานวณจากปีที่ทรงเขียนประกาศนี้ คือ 2411/1868 ย้อนกลับไป 500 ปี ก็คือ พ.ศ. 1911 หรือ ค.ศ. 1368 ซึ่งตกในปลายรัชสมัยของพระเจ้า อู่ทองผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาพอดี แสดงว่าทรงมีพระมติว่าระบบ “จิ้มก้อง” ระหว่างไทย-จีนนี้ มีมาแต่สมัยอยุธยา)
值得讓人注意的是 這樣的不平等關係或稱爲“從一開始就吃虧”的關係,拉瑪四世解釋說:“已經延續超過了500年。”(從寫這篇公告的年份是1868年算起,往回推500年就是1368年,當時是阿瑜陀耶建國國王烏通王統治的末期,表明中國和暹羅的朝貢貿易關係從阿瑜陀耶時期就已經有了)。

และเหตุที่ดําเนินมานานแสนนาน แม้จะ “เสีย” “อายขายหน้า” ก็เพราะด้านหนึ่ง “ต้นเหตุใหญ่ เพราะว่าหนังสือจีนรู้โดยยากที่สุด ไม่เหมือนหนังสือไทยแลหนังสือต่างประเทศทั้งหลายพอจะรู้ได้บ้าง ก็ไทยแท้มิใช่บุตรจีนรู้หนังสือจีนก็ไม่มี”
儘管吃虧,儘管丟 臉,這種關係能延續數百年的原因一方面是“中文字非常難認,不像泰語文字和其他外國文字,能讓人大概讀懂,泰國人如果不是華人的後裔是不可能讀懂中文的。”

แต่อีกด้านหนึ่งที่สําคัญกว่า และทรงยอมรับก็คือ “กําไร” ดังพระ อรรถาธิบายที่ว่า “ส่งเครื่องบรรณาการไปครั้งหนึ่งครั้งใดก็มีกําไรมากกว่าบรรณาการของที่ส่งไป แล้วพวกทูตานุทูตไทยที่ออกไปเมืองจีนก็ได้เบี้ยเลี้ยง แต่หัวเมืองจีนต่างๆ นั้นๆ ก็จัดซื้อของที่ดีๆ ประหลาดๆ เอามาเป็นของถวายพระเจ้าแผ่นดินไทย แล้วกํานัลเสนาบดีไทย ฝ่ายพระเจ้าแผ่นดินไทยในเวลาล่วงแล้วนั้นไม่มีความกระดากกระเดื่องว่าพวกจีนล่อลวงให้เสียยศ จีนสั่งให้ไปก้องเมื่อไรก็ไปเมื่อนั้น”
但另一方面的原因更加重要,拉瑪四世也承認是因爲“利益”,“每次朝貢獲得物品的價值遠高於送去物品的價值,前往中國的暹羅使團也能獲得收入,中國各個地方的長 官也會買很多奇珍異寶敬獻給暹羅國王和貴族官員,以前的暹羅國王也沒有意識到這麼做是被某些華人欺騙,中國命令去朝貢就去了。”

ถึงตรงนี้ยังทรงคํานวณให้เห็น “กําไร” เป็นตัวเลขอย่างชัดเจนว่า “เครื่องมงคลราชบรรณาการของไทยไปถวายพระเจ้ากรุงปักกิ่งนั้นรวมหมด เป็นราคาเพียงสัก 50 ชั่ง … (แต่) พระเจ้ากรุงปักกิ่งก็ทรงตอบแทน เครื่องบรรณาการมาให้แก่ กรุงไทยนั้น สิ่งของตอบแทนแต่ล้วนเป็นของมีราคาทั้งนั้น คือแพรอย่างดี สีต่างๆ ราคาก็มากกว่าเครื่องบรรณาการ ของไทยที่ไปนั้นหลายเท่า ทั้งนี้พระเจ้ากรุงปักกิ่งขาดทุนเปล่า ไม่มีกําไร แต่ว่าต้องจําเป็นจําทําเพราะว่าจะแสดงยศอย่างนั้นอย่างนี้ด้วย”
這裏來用數字來解釋“利益”會更加清楚,“暹羅進貢給中國皇帝的物品總共4000銖,但是中國皇帝作爲還禮的物品全部都是非常珍貴的東西,有很好的各色絲綢,價值 是泰國送去貢品的好幾倍。總之,中國的皇帝是虧損的,沒有利益的,但是爲了彰顯自身的優越也是必須要做的。

จากประกาศฉบับที่ 309 นี้ พอจะสรุปได้ว่าความสัมพันธ์ในระบบบรรณาการ หรือ “จิ้มก้อง” นี้ยืนยาวอยู่มาได้ก็เพราะ “กําไร” แม้ว่า ไทยจะถูก “หลอก” และ “เสียพระเกียรติยศ” ก็ตามกําไรที่ว่านี้มาจากการแลกเปลี่ยน ค้าขายสินค้าของป่าพื้นเมืองของไทย กับสินค้าฟุ่มเฟือยจากจีน ที่เป็นผ้าแพรไหมและเครื่องถ้วย…
根據309號公告,可以總結到,朝貢貿易能夠維持數百年的原因是因爲“利益”,雖然暹羅受到欺騙或喪失尊嚴,但是通過用暹羅的野生土產來交換中國豐盛的回禮,例如絲綢和瓷器等…

 

關於中泰朝貢貿易的說法很多專家學者也有不同的見解,而從利益角度來考量,這場歷史的來往,雙方都各有利弊,文章的觀點只是從泰國的角度給大家提供一個新的視角,大家一定要兼聽則明哦!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。