當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 大名鼎鼎的“易三倉” 你知道它的前世今生嗎?

大名鼎鼎的“易三倉” 你知道它的前世今生嗎?

推薦人: 來源: 閱讀: 4.87K 次

熟悉泰國的同學一定對易三倉大學不陌生,高質量的教學,西方教堂式的校園,非常有特色。那你知道易三倉這個名字是怎麼來的嗎?它又是什麼意思呢?今天我們就來帶大家好好認識一下這所泰國名校。

大名鼎鼎的“易三倉” 你知道它的前世今生嗎?

ในช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 บ้านเมืองเปลี่ยนแปลงในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการศึกษาจากพระราชหฤทัยที่จะพัฒนาบ้านเมืองให้ทัดเทียมอารยประเทศ ในช่วงเวลานั้นมีโรงเรียนที่เกิดจากการอุปถัมภ์หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือโรงเรียนที่ภายหลังพัฒนากลายมาเป็นโรงเรียนอัสสัมชัญ
在曼谷王朝五世王 時期,泰國在很多方面都發生了巨大的變化,教育叢皇家專屬發展到整個泰國大地,在那段時間,很多學校都在扶持下建立,其中的一所學校在後來就發展成了易三倉學校。

ในกลุ่มโรงเรียนที่ได้เริ่มมีมากขึ้นในรัชกาลที่ 5 กลุ่มหนึ่งเป็นโรงเรียนที่อุปถัมภ์โดยกลุ่มหมอสอนศาสนาชาวตะวันตก ทั้งนิกายโปรเตสแตนต์ และโรมันคาทอลิก สำหรับกลุ่มโรมันคาทอลิก ช่วงเวลานั้นมีชุมชนคาทอลิกกระจายอยู่ในสยาม 5 แห่ง หนึ่งในนั้นคือชุมชนคาทอลิกย่านบางรัก โดยมีวัดอัสสัมชัญ เป็นศูนย์กลาง
在拉瑪五世時期 收到扶持的學校,其中一部分就是有西方新教和天主教傳教士建立的,當時的天主教徒在暹羅共有五處聚居地,有一處就是以Bang Rak作爲中心的天主教徒聚集地。

ในปี พ.ศ. 2420 บาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ (Pere Emile Colombet) เจ้าอาวาสเริ่มแนวคิดให้การศึกษาเด็กผู้ชายทั่วไป จึงจัดการเรียนการสอนภายในที่ดินของวัด (ช่วงนั้นยังไม่ได้เรียกว่าวัดอัสสัมชัญ) โดยคนทั่วไปเรียกกันว่า “วัดสวนท่าน” ในช่วงแรกนักเรียนจะเป็นเด็กยากจนและเด็กกำพร้าในย่านบางรัก จำนวน 12 คนมาเริ่มรับการศึกษาทั้งภาษาไทยและฝรั่งเศส (ภายหลังเพิ่มภาษาอังกฤษด้วย) พร้อมกับการเผยแพร่ศาสนา ขั้นต้นโรงเรียนถูกเรียกว่า “โรงเรียนไทย-ฝรั่งเศสวัดสวนท่าน”
在1877年,Pere Emile Colombet神父開始了對平民男孩的教育,在教堂的土地上開展教學(當時還不叫做易三倉教堂),普通人都叫Wat Suan Than,剛開始來上學的學生都是Bang Rak地區貧困家庭的男孩或者孤兒,共12個人,學習泰語和法語(後來增加了英語),還有傳教的內容,剛開始學校被叫做“Wat Suan Than泰法學校”。

เหตุผลเบื้องลึกของการก่อตั้งโรงเรียนนั้น พระยาอนุมานราชธน (เสฐียรโกเศศ) ศิษย์เก่าท่านเล่าในหนังสือชื่อ “ฟื้นความหลัง” โดยแสดงความคิดเห็นว่า
創立這所學校的深 層原因,曾經在那裏讀過書的Phraya Anuman Rajadhon在《回顧往事》一書中發表了見解:

“…ที่ท่านริเริ่มตั้งโรงเรียน ข้าพเจ้าเข้าใจเอาเองว่า จะเนื่องจากลูกกำพร้าที่มีผู้นำมามอบหมายไว้ให้ ท่านมีความสงสารก็รับไว้ เมื่อมีจำนวนเด็กลูกกำพร้าเพิ่มขึ้น ความคิดเรื่องตั้งโรงเรียนก็มีมาเอง นี่แสดงว่าพ่อคอลอมเบต์ เป็นผู้มีเมตตากรุณาแก่เด็กที่ตกทุกข์ได้ยาก…”
“…他之所以建立這所學校,我個人認 爲,是因爲有很多人給他送來了孤兒,他可憐這些人就收下了,當孤兒的數量增加後,創辦學校的想法自然而然就有了,這說明Colombet神父對可憐的孩子們充滿憐憫…”

สถานที่ซึ่งใช้สอนหนังสือในช่วงแรก ยุวดี ศิริ บรรยายในหนังสือ “ตึกเก่า-โรงเรียนเดิม” ว่า บาทหลวงกอลมเบย์ ใช้เรือนไม้ใต้ถุนสูงอันเป็นเรือนพักบาทหลวงในวัดกั้นเป็นห้องเรียน 4 ห้อง
剛開始上課的場所,Yuwadee Siri在《舊樓-舊學校》一書中提到,Colombet神父使用了教堂內4間在他自己宿舍高腳屋隔離出來的房間。

เมื่อบาทหลวงท่านเห็นว่า การสอนนักเรียนที่นับถือคาทอนิกคงไม่เพียงพอ และปรับไปเป็นเปิดรับนักเรียนทุกเชื้อชาติและทุกศาสนาไม่จำกัดเฉพาะเพียงผู้นับถือคาทอลิก ในพ.ศ. 2428 บาทหลวงกอลมเบต์ ขึ้นทะเบียนจัดตั้งโรงเรียนกับกรมศึกษาธิการ กระทรวงธรรมการ โดยใช้ชื่อว่า “อาซมซานกอเล็ศ” (Le College De L’Assomption)
當他認爲,只教授信奉天主教的孩子可能不夠,所以就擴展到了招收所有種族所有宗教的孩子,不限制一定要信仰天主教,在1885年,Colombet神父向教育部申請註冊建立了名爲 “Le College De L’Assomption”的學校。

ปีแรกที่จัดตั้งมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 33 คน แต่แล้วก็กลับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปีต่อมา คือ 130 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นเหตุให้ในเวลาต่อมาบาทหลวงเอมิล กอลมเบต์ ต้องสร้างอาคารเรียนหลังแรกขึ้นในบริเวณวัดเพื่อรองรับนักเรียน แต่ก็มีปัญหาเรื่องทุนทรัพย์ ต้องใช้วิธีเรี่ยไรหาทุนมาสร้างอาคารเรียนใหม่ รัชกาลที่ 5 ทรงทราบเรื่องจึงพระราชทานเงินทุนเริ่มแรก 50 ชั่ง นอกจากนี้ ยังมีพระบรมวงศานุวงศ์ร่วมออกพระราชทรัพย์อุดหนุนสร้างอาคารอีกด้วย โดยรวมแล้วใช้ทุนทรัพย์ก่อสร้างรวม 50,000 บาท เป็นอาคารสูง 3 ชั้น วางตัวแนวยาวประมาณ 60 เมตร เริ่มใช้งานปี พ.ศ. 2433 ภายหลังก็ถูกเรียกกันว่า “ตึกเก่า” แต่เวลาต่อมาถูกรื้อถอนเพื่อสร้างอาคาร ฟ. ฮีแลร์ แทนที่
註冊的第一年共有33個學生,在第二年就迅速上升到130個人,只有一直不斷上升,後來Colombet神父不得不在教堂附近建立了第一所教學樓承接新學生,但是也面臨着資金問題,不得不徵集資金建教學樓,拉瑪五世得知此事就先捐贈了4000泰銖,還有其他王室成員出資共同建教學樓,共籌集了50,000泰銖的資金,建立了一座 3層的教學樓,長約66米,在1890年開始使用,後來被叫做“舊樓”,後來被拆掉建了F. Hilaire大樓。

สำหรับคำว่า “อัสสัมชัญ” นั้น มีที่มาจากช่วงกระทรวงธรรมการ มีนโยบายให้เรียกชื่ออาคารสถานที่ซึ่งเป็นภาษาต่างประเทศให้เป็นคำไทยทั้งหมด และใน พ.ศ. 2453 โรงเรียนจึงมีจดหมายแจ้งไปถึงกรมศึกษาธิการ เนื้อหาชี้แจงเรื่องชื่อโรงเรียน “Assomption” นั้น มักถูกเรียกและเขียนผิดๆ กันตามถนัด
“易三倉”這個 詞,來自當時教育部下令將所有以外語命名的建築物全部改成泰語名稱,,在1910年,學校發文至教育局,表明了“Assomption”這一校名經常被叫錯或者寫錯:

“ด้วยเหตุนี้ ขอเจ้าคุณได้โปรดจดชื่อโรงเรียน “Assomption” กลับเปนคำไทยว่า “อาศรมชัญ” เทอญ ; บรรดาไทยทุกๆ ท่านผู้ชำนาญในรากภาษาแห่งตน คือภาษาบาลี คงมีความพอใจเอาอย่างทั้งนั้น แล้วจะเปนที่ตัดความรังเกียจ ที่เห็นติเตียนเปนเสียงแตกต่างกันเช่นดังกล่าวมาด้วย…”
“因爲如此,請您將Assomption的校名更改爲泰語詞彙อาศรมชัญ,各位泰語方面的專家對自己語言的源頭非常精通,那就是巴利語,可能會很滿意,解除煩心的事, 對於上述指出的發音問題…”

อย่างไรก็ตาม พระยาวิสุทธิสุริยศักดิ์ อธิบดีกรมศึกษาธิการ แนะนำว่า ควรเป็น “อัสสัมชัญ” เพราะออกเสียงคล้ายชื่อเดิม ความหมายก็คงรักษาไว้ได้ คำว่า “อัสสัมชัญ” ยังมีคำในภาษาบาลีว่า “อัสสโม” แผลงเป็นไทยว่า “อาศรม” หมายความว่า “กุฏิที่ถือศีลกินพรต” ส่วนคำว่า “ชัญ” แยกตามชาติศัพท์เดิม คือ ธาตุศัพท์ว่า “ช” แปลว่า “เกิด” และ “ญ” แปลว่า ญาน ความรู้ เมื่อรวมความก็ได้คำว่า “ชัญ” หมายถึง “ที่สำหรับเกิดญาณความรู้”
無論如何,教育局局長Phraya Wisuthisurayasak認爲,應該是อัสสัมชัญ,因爲和原來的名字更接近,含義保持原意,“อัสสัมชัญ”一次來自巴利語的อัสสโม,在泰語音 變爲อาศรม,意思是“受戒的地方”,ชัญ一詞和原詞拆分開,ช的意思是“產生”,ญ是“知識”,組合在一起之久就是“產生知識的地方”。

ดังนั้น เมื่อรวม 2 คำเข้าด้วยกันก็จะได้คำว่า “อัสสัมชัญ” หมายถึง “ที่สำหรับระงับบาปและหาวิชาความรู้” คำนี้จึงกลายเป็นชื่อเรียกกันตั้งแต่นั้นมา
所以,當這兩個詞結合在一起成爲“อัสสัมชัญ”的時候,意思是“抑制邪念、追尋知識的地方”,這個名字也一直被沿用。

 

原來大名鼎鼎的易三倉是這個意思!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。