當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 泰語裏奇奇怪怪的小知識 “屁股”這個詞是怎麼來的?

泰語裏奇奇怪怪的小知識 “屁股”這個詞是怎麼來的?

推薦人: 來源: 閱讀: 2.09W 次

大家都知道,泰語裏的ตูด是屁股的意思,但這個詞並不是非常文雅,在使用的時候一定要多注意語境,不然可能會讓人覺得不禮貌哦! 那你知道這個詞是怎麼來的嗎?其實它的背後還有很有意思的故事,一起來看看吧!

泰語裏奇奇怪怪的小知識 “屁股”這個詞是怎麼來的?

ตูด เป็นคำศัพท์ที่สื่อความถึงอวัยวะส่วนหนึ่งของมนุษย์ และความหมายแทนสัดส่วนของสิ่งอื่นได้อีก แต่คำนี้มีที่มาอย่างไร เมื่อลองสืบค้นดูแล้วก็พบข้อมูลในจดหมายเหตุของผู้เข้ามาเป็นตรีทูตสมัยพระนารายณ์มหาราช
ตูด 是人的器官之一,或 者來指代物體的部位也可以,但這個詞是怎麼來的?收集資料之後發現這個詞出現在了阿瑜陀耶時期納萊王使臣的記錄當中。

ขณะที่ค้นหาข้อมูลจากนิตยสารศิลปวัฒนธรรมฉบับเก่า เราก็พบบทความของ “คุณไมค์” หรือไมเคิล ไรท์ อดีตที่ปรึกษาทางวิชาการของศิลปวัฒนธรรมผู้ล่วงลับไปแล้ว รวบรวมข้อมูลที่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับความเป็นมาของคำว่า “ตูด” ไว้อย่างสนุกสนาน จากคอลัมน์ “นิรุกติศาสตร์จำเป็น” บทความ “ความเป็นมาของคำว่า ‘ตูด'” ในศิลปวัฒนธรรม ฉบับกันยายน 2525 จึงขอหยิบมาเล่าสู่กันฟังอีกครั้ง ดังนี้
在查看舊時文化方面的雜誌時,我們發現了已故的文化藝術專家Mike或Mike Right的文章,蒐集了關於ตูด 這個詞的來源,非常有趣,這篇文章出現在了“必要的語言學知識”專欄 ,題目爲《ตูด 一詞的來源》,1982年9月,於是拿來介紹。

ดูคำว่า “ตูด” อย่างเผินๆ แล้ว คงเข้าใจว่าเป็นศัพท์ไทยเดิม ไม่มีอาการแผลงเป็น “ตำนูด” หรือ “ตำบูด” อันอาจจะทำให้คิดว่าเป็นคำเขมรและในภาษามอญก็ไม่มีแนวเทียบ อย่างเช่น “สฺตูด์” หรือ “ขฺตูด์” จึงคงไม่เป็นคำที่มีรากมาจากภาษามอญเป็นแน่ สมควรเป็นคำไทยแท้อย่างเช่น “หมา” “หมู” “เป็ด” “ไก่” เป็นต้น
ตูด 這個詞,從表面上看 ,會認爲是傳統的泰語詞彙,沒有出現像“ตำนูด”或“ตำบูด”這樣的音變讓人認爲是高棉語,孟語裏也沒有像“สฺตูด์”或“ขฺตูด์”這樣可以類比的,所以它肯定不是孟語裏借來的詞,應該是像“หมา” “หมู” “เป็ด” “ไก่”這樣純泰語的詞彙。

แต่แล้วหากท่านผู้อ่านจะหาคำว่า “ตูด” ในศิลาจารึกภาษาไทย ก็จะไม่พบคำนี้เลย แม้กระทั่งในหลัก 1 (พ่อขุนรามคำแหง) ก็ไม่มีเลย
但是大家如果去泰國的 石碑中尋找的話,也不會發現這個詞,即使是蘭甘亨石碑上也沒有。

เมื่อเป็นเช่นนี้ ผมจึงหันไปดูภาษาอื่นว่าเขามีคำที่มีเสียงคล้ายๆ กันไหม?
如果是這樣的話,就要 去看看其他語言裏有沒有發音類似的詞彙了。

เมื่อค้นดูนานๆ เข้า จึงพบคำภาษาอังกฤษคำหนึ่ง เขียนว่า “Toot” (เสียงแตร) อังกฤษออกเสียงว่า “ทู้ต” ฝรั่งเศสออกเสียงว่า “ตู๊ด” คำนี้แหละจะเป็นต้นตอของคำไทย “ตูด” หรือเปล่า?
找了很長時間發現了一個英 語詞彙,寫作Toot(喇叭的聲音),英語裏讀作/thut/,法語裏讀作/tut/,那這個詞是不是ตูด的來源呢?

หลักฐานที่กระตุ้นให้ผมสงสัยในเรื่องนี้ คือสุภาษิตพื้นเมืองอังกฤษที่ว่า Beans, beans are musical fruit. The more you eat, the more you toot. The more you toot the better you feel. So beans, beans for every meal.
讓我對這件事持續產生 疑惑的原因來自一首英國民間的歌謠:“Beans, beans are musical fruit. The more you eat, the more you toot. The more you toot the better you feel. So beans, beans for every meal”。

ถ้าจะแปลให้เป็นภาษาไทยก็คงว่า “ถั่วเอ๋ย ถั่วนั้นเป็นอาหารดนตรีแท้ ยิ่งรับประทานยิ่งบรรเลงเสียงแตรตู๊ดๆ เสียง บรรเลงตู๊ดๆ ยิ่งเจริญสุขภาพใจ-กาย จึงควรกินถั่วเข้าไปทุกมื้อเอย”
翻譯成泰語的意 思是:“豆子啊,豆子是有音韻的食物,越吃越能演奏出嘟嘟的聲音,越演奏嘟嘟的聲音,就越對身心健康有益,所以每頓飯都應當吃豆子。”

(จะแปลอักษรว่า ทู๊ด หรือ ตู๊ด ก็ตาม) อังกฤษและฝรั่งเศสใช้เป็นเสียงแตรอย่างเช่นในเพลงแตรที่ใช้เรียกพลทหารมารับประทานอาหาร ที่มีบทว่า
(不管是寫成/thut/還是/tut/)英語和法語裏把它用作喇叭聲音的擬聲詞,就像是叫士兵吃飯的軍號一樣:

“Come to the cookhouse door, boys; Come to the cookhouse door.” “มาเถิด เจ้าหนุ่มเอ๋ย มาที่ประตูโรงครัว”
“來餐廳,士兵 們,來餐廳”

ถ้าจะแปลเป็นภาษาแตร มันก็ออกเป็น “ตู๊ด ตะระรูดตู๊ดตูดตู่ รู้ดตะระหรูดตู๊ดตู่”
翻譯成號聲的語 言就是:“tut tararaututtuttu rutararuttuttu”

เมื่อเสียงแตรของฝรั่งเข้าใกล้คำว่าตูดที่คนไทยทุกวันนี้ใช้กัน ผมจึงสงสัยว่าจะมีอะไรเกี่ยวข้องกันหรือเปล่า จนในที่สุดผมพบหลักฐานที่แน่นอนคือจดหมายเหตุของท่าน เชอวาลีเยร์เดอลาแมร์ด ซึ่งเข้ามาเป็นตรีทูตสมัยพระนารายณ์มหาราช
當西方人的號聲和泰國人 現在用的ตูด聲音很接近時,我就懷疑這二者有沒有什麼聯繫?

ในจดหมายเหตุของท่านเชอวาลีเยร์มีความว่า ในการจะทำสัญญาทางการค้าระหว่างสยามกับฝรั่งเศส ท่านก็จำเป็นต้องเข้าเฝ้าเจ้าพระยาพระคลังบ่อยครั้ง เจ้าพระยาพระคลังนั้นสูงอายุ สังขารค่อนข้างเสื่อม เข้าเฝ้าที่ใด ท่านนอนอยู่บนพระแท่นตลอด และมักผายลมตลอดระยะเวลาที่เข้าเฝ้าอยู่นั้น สำหรับคนไทยนั้นความเข้าใจดีในปัญหาทางสรีระที่มักเกิดแก่คนชรา จึงไม่ถือไม่ว่า แต่สำหรับฝรั่งก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ขายหน้ายิ่งนัก
在法國使臣亞歷山大·德·肖蒙的記錄中提到,暹羅和法國要進行貿易,他必須經常去會見暹羅負責財政的大臣,財政大臣的年事較高,身體不是非常好,會見的時候每次都是躺 着,並且一直會放屁。泰國人對老年人出現的身體上的問題比較寬容,所以不會忌諱什麼,但是西方人認爲這是一件非常丟臉的事情。

อย่างไรก็ดีชาวฝรั่งเศสที่เข้าเฝ้าเจ้าพระยาพระคลัง ล้วนแต่เป็นนักการทูต จึงพอหาวิธีกลบเกลื่อนเหตุการณ์ที่น่าละอายนี้ได้ กล่าวคือ ทีไรที่เจ้าพระยาพระคลังผายลมออกมา “ปื๊ด” ทูตเอกจะหันหน้าเข้าหาทูตโท ถามว่า
來會見暹羅財 政大臣的法國人全部都是使臣,所以就找辦法來掩蓋這種尷尬的事情,每次財政大臣放屁的時候,大使就對副使說:

“เสียงตู๊ดๆ นี้มาจากไหน”
“嘟嘟聲是哪 裏傳來的?”

ทูตโทว่า “อ๋อ เขาสวนสนามกันหน้าวังเสียงตู๊ดๆ (แตร) มันจากทางโน่นไง่ล่ะ”
副使就會說 :“哦,別人在宮前面迎面遇到,有按喇叭的嘟嘟聲,就是那裏傳來的。”

ฝรั่งจึงหายเขิน
法國人就 避免了尷尬。

แต่สำหรับบ่าวไพร่ของเจ้าพระยาพระคลังเขาไม่รู้สึกเก้อเขินในการที่เจ้านายผายลม แต่เขาพยายามจับความที่พวกทูตฝรั่งเศสเจรจากันก็แปลกันเองว่า
但是財政大 臣的侍從並不會因爲大臣放屁而感到尷尬,而是記住了法國使臣們交流的內容,

“เสียงนี้มาจากไหน?” “ก็มาจาก “ตู๊ด” ของท่านนั่นแหละ”
“嘟嘟聲來 自哪裏?”“就是大臣放屁的聲音。”

“ตู๊ด” หรือ “ตูด” จึงกลายเป็นคำนิยม ของชาววังและข้าราชการ และในที่สุดชาวบ้านสามัญๆ ก็ได้รับทอดว่า “ตูด” ก็คือ “ก้น” นั่นเอง
“ตู๊ด”或“ตูด”就成了宮內公務人員間流行的詞,後來被大衆接受,認爲ตูด和ก้น一樣,都是屁股的意思。

 

原來這個詞背後還有這麼有意思的故事!

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。