當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日

60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日

推薦人: 來源: 閱讀: 2.08W 次

泰國九世王普密蓬·阿杜德的音樂才華是受到公認的。九世王,熱愛音樂,不僅是自己喜愛創作,爲了培養新一代年輕人的音樂熱情,更是多次到高校中開私人演奏會,跟學生們交流音樂。起源於60多年前的“演奏日”,如今也已經成爲國民思念九世王的節日。那“演奏日”是如何誕生的呢?讓我們移步往下~

วันนี้เมื่อ 62 ปีก่อน คือวันที่ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินตามคำกราบบังคมทูลเชิญของมหาวิทยาลัยต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, เพื่อทรงดนตรีและทรงสังสรรค์ร่วมกับนิสิตนักศึกษาเป็นการส่วนพระองค์ โดยในการนี้ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงรวมทั้ง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
62年前的的今天,是普密蓬·阿杜德國王私人應多個大學的邀請,包括朱拉隆功大學、法政大學、農業大學、詩納卡琳大學,與大學生一起演奏音樂的日子。在這次活動中,詩麗吉王后攜同王子和公主也一起觀看了演出。

โดยที่สุดแล้วในวันนี้ หรือ วันที่ 16 กรกฎาคม จึงนับเป็น “วันทรงดนตรี”
最後,7月的今天即16號就變成了泰國的“皇家演奏日” 。

60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日

สำหรับประวัติที่มาของ "วันทรงดนตรี" ถือกำเนิดมาจากพระมหากรุณาธิคุณพิเศษที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรพระราชทานแก่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สืบเนื่องมาจากวันพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2500 และในท้ายพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้ทรงแจ้งข่าวต่อที่ประชุมว่า "พระองค์ทรงเสียพระราชหฤทัยมากที่มิได้ประทับอยู่เพื่อเสวยพระสุธารสในวันนั้นได้ อย่างที่เคยทุกๆ ปีมา เพราะสมเด็จพระบรมราชินีนาถกำลังจะประสูติเจ้าฟ้าฯ"
關於“皇家演奏日”的由來,起源於普密蓬國王1957年7月4日御駕親臨朱拉隆功大學頒發畢業證書之時。最後,在頒發儀式上,普密蓬國王派人傳來口諭說:因爲詩麗吉王后正在生產,自己非常遺憾沒能像以前一樣留下喝杯茶就得離開。

และด้วยเหตุที่สมเด็จเจ้าฟ้าพระองค์ใหม่ประสูติในช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินมาพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาาช บรมนาถบพิตรจึงมีพระราชประสงค์จะพระราชทานนามให้มีคำว่า “จุฬา” อยู่ในพระนามนั้นด้วย และก็ได้พระราชทานนามว่าเจ้าฟ้า “จุฬาภรณ์”
因爲新公主是在親臨朱拉隆功大學頒發畢業證書時降生的,所以普密蓬國王有意用“朱拉”給新公主起名,最後定名爲“朱拉蓬”公主。

ต่อมาคณะนิสิตได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตเข้าเฝ้าฯ เพื่อถวายของขวัญและถวายพระพรชัยมงคลแด่ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
之後,朱拉隆功大學的學生會進書請求覲見,希望向朱拉蓬公主殿下進獻禮物和祝福。

60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日 第2張

มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นิสิตเข้าเฝ้าฯ ในวันที่ 6 กันยายน 2500 ณ เวทีลีลาศสวนอัมพร เนื่องจากวันนั้นตรงกับวันศุกร์ ซึ่งเป็นวาระที่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรจะทรงดนตรี กับ วงลายคราม เพื่อออกอากาศทางสถานีวิทยุ อ.ส.
普密蓬國王同意了學生們的請求,於1957年的9月6日在Amphorn廣場的演奏廳中接見了學生們。那天剛好是星期五,是普密蓬國王要跟Lay Kram樂隊演奏音樂並通過皇家廣播臺放送的日子。

ในวันนั้นพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีรับสั่งให้นิสิตทำตัวตามสบายไม่เป็นทางการ ให้ถือว่าอยู่ในบ้านของพระองค์ท่าน พระองค์ทรงเดี่ยวแซกโซโฟนพระราชทานแก่นิสิต
那天,普密蓬國王囑咐學生們自在點、不用拘謹,就當作是到國王的家做客。普密蓬國王還給學生們單獨演奏了薩克斯。

และผู้ขอฟังเพลง ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ ทรงขอฟังเพลงจากวงดนตรีและให้นิสิตร้องเพลงมหาจุฬาลงกรณ์อีกด้วย
旁邊的觀衆:詩麗吉王后和王子、公主還向樂隊點歌並讓學生們唱起朱拉隆功的校歌。

【加視頻】(微信後臺)
九世王與樂隊演奏的詩篇

ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรได้พระราชทานพระมหากรุณาธิคุณนำวงลายครามไปแสดงดนตรีที่หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรยากาศของงานคล้ายกับการแสดงดนตรีที่สวนอัมพร
之後到了1958年,普密蓬國王帶着Lay Kram樂隊親臨朱拉隆功大學的會議大廳進行演出,演奏會的氛圍跟Amphorn廣場時的一樣融洽。

ฉะนั้น งานวันทรงดนตรี เริ่มขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2501 ณ หอประชุมจุฬาฯ ซึ่งเป็นปีแรกที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯ และยังได้พระราชทานข้อคิดแก่นิสิตจุฬาฯ อย่างไม่ถือพระองค์ สร้างบรรยากาศอันอบอุ่น ความเป็นกันเอง บรรยากาศแห่งความทรงจำในครั้งนั้นยังคงตราตรึงอยู่ในใจของนิสิตเก่าจุฬาฯ สืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
因此,皇家演奏日活動,開始於1958年7月16日的朱拉隆功大學會議大廳,即普密蓬國王協同詩麗吉王后在朱大正式演奏的第一年,並且不計較身份地給朱大學子們以建議,營造了溫馨、親密的氛圍環境,這深深的印刻在了老一輩朱大學子的心中,溫暖持續至今。

จากนั้น ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงกราบบังคมทูลเชิญพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงดนตรีที่หอประชุมจุฬาฯ เป็นประจำทุกปี เว้นปีที่มีพระราชภารกิจมาก คือ เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ และหากไม่มีพระราชภารกิจ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอก็จะโดยเสด็จพระราชดำเนิน และทรงร่วมในการแสดงดนตรีด้วย
至此以後,除了有時普密蓬國王有公務需要出國訪問,朱拉隆功大學都會邀請國王到會議大廳演奏音樂,併成爲了每年的慣例。如果沒有公務要處理,詩麗吉王后和王子公主也會一同出席演奏會。

หลังจากนั้น พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรยังได้เสด็จทรงดนตรีตามคำกราบบังคมทูลเชิญของมหาวิทยาลัยต่างๆ อีกหลายแห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนคริทรทรวิโรฒ เพื่อทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์อีกหลายครั้ง
之後普密蓬國王也多次到其他大學,像法政大學、農業大學和詩納卡琳大學裏進行私人演奏。

60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日 第3張

อย่างไรก็ดี ต่อมาวันทรงดนตรีได้ยุติลงไป เนื่องจากมีพระราชกรณียกิจมากมายและสถานการณ์ไม่เอื้อต่อการเสด็จพระราชดำเนินมาทรงดนตรี
然而之後,因爲公務的繁忙加上局勢的限制使得國王無法繼續堅持演奏,這件事情就中斷了。

โดยรวมแล้วพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเสด็จฯ มาทรงดนตรีที่จุฬาฯจำนวน 15 ครั้ง  โดยเสด็จฯมาทรงดนตรีเมื่อวันที่ 20  กันยายน  2516 เป็นปีสุดท้าย แต่ต่อมา ช่วงปี 2543 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้มีการจัดงานวันที่ระลึกวันทรงดนตรี ในวันที่ 20  กันยายน ของทุกปี  ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
統計下來,普密蓬國王在朱拉隆功大學裏一共演奏了15次,1973年的9月20日則是最後一次演奏。接下來到了2000年,朱拉隆功大學在9月20日舉辦了演奏日的紀念活動。至此以後每年9月20日都會舉辦這個活動,一直延續到今日。

(上文提到的7月16日,是正式的皇家演奏日,而9月20日是九世王最後一次在朱大的演奏,這一天也變成了後來朱大每年會舉辦紀念活動的日子。)

อนึ่ง วงลายคราม (Lay Kram) เป็นวงดนตรีในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งทรงตั้งขึ้นที่พระที่นั่งอัมพรสถานภายหลังเสด็จนิวัตประเทศไทย เล่นดนตรีในแนวแจ๊ส Dixieland ซึ่งมีความสนุกสนานเบิกบาน เปิดโอกาสให้ผู้เล่นแสดงความสามารถเฉพาะตัว
值得一提的是,樂隊Lay Kram是普密蓬國王回到泰國後在Amphorn Sathan行宮組建的一支樂隊,演奏Dixieland爵士音樂(傳統爵士樂),曲風歡快,能讓演奏者充分展示自己的演奏能力。

“วงลายคราม” ประกอบด้วยนักดนตรีสมัครเล่นทั้งหมด ซึ่งล้วนเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ที่พระองค์ทรงคุ้นเคยมาแต่ทรงพระเยาว์ อาทิ หม่อมเจ้าวิมวาทิตย์ รพีพัฒน์ห ม่อมเจ้าแววจักร จักรพันธุ์ห ม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ หม่อมเจ้ากมลีสาน ชุมพล หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ หม่อมราชวงศ์พงศ์อมร กฤดากร หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช หม่อมเจ้าชุมปกบุตร ชุมพล หม่อมหลวงประพันธ์ สนิทวงศ์ นายดำเกิง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา  นายสุรเทิน บุนนาค  นายแมนรัตน์ ศรีกรานนท์ นักร้องของวงลายครามได้แก่ หม่อมเจ้ามุรธาภิเศก โสณกุล หม่อมเจ้าขจรจบกิตติคุณ กิติยากรเป็นต้น
Lay Kram樂隊的成員都是由志願演奏者組成,也都是普密蓬國王從小就認識的王室夥伴。比如蒙昭Wimawit Rapeephat、蒙昭Waewchak Chakaphan、蒙鑾Dech Sanitwong、蒙昭Kamalansan Chumphon、蒙鑾Udom Sanitwong、蒙拉差翁Pongamorn Kridakon、蒙拉差翁Seni Pramot、蒙昭Chumpokbut Chumphon、蒙鑾Praphan Sanitwong、大城府的Khumkaeng Sanitwong先生、Suren Bunnag先生和Manrat Srikranon先生。樂隊的演唱者有:蒙昭Murathapisek Sonakul、蒙昭Khchornchom kittikun Kitiyakorn等等。

注:在1932年泰國實行君主立憲後,泰王已不再爲非王族進行封爵。王族分爲昭華(Chao Fa)、拍翁昭(Phra Ong Chao)蒙昭(Mom Chao)三等;蒙昭的子女稱爲蒙拉差翁(Mom Rajawongse);蒙拉差翁的子女稱爲蒙鑾(Mom Luang)。以上若用中文來稱呼,除了“蒙拉差翁”需尊稱爲“閣下”之外,其他都可尊稱爲“殿下”。(信息來源:wikipedia)

60多年前九世王先王的“演奏日”,如今成爲國民思念他的節日 第4張

เนื่องจากวงลายคราม เป็นวงดนตรีของนักดนตรี นักร้องสมัครเล่น หลายครั้งที่นักดนตรีมักจะเล่นผิดๆ ถูกๆ แต่พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ก็มีพระมหากรุณาธิคุณ ทรงแนะนำ พระราชทานกำลังใจ ให้ทุกคนมีความสนุกครึกครื้นอยู่กับการเล่นดนตรีอยู่เสมอ วงลายครามจะมาร่วมเล่นดนตรี ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน ทุกเย็นวันศุกร์
因爲樂隊的演奏者和演唱者都是志願的,好幾次演奏的時候錯錯對對,但普密蓬國王總是貼心的鼓勵演奏者放輕鬆。 每逢週五的傍晚,樂隊就會在Amphorn行宮裏演奏音樂。

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชนิพนธ์เพลง Lay Kram Goes Dixie พระราชทานให้เป็นเพลงประจำวง
普密蓬國王還創作了歌曲Lay Kram Goes Dixie作爲樂隊的隊歌。

มาฟังเพลงอันทรงคุณค่าเพลงนี้ เพื่อรำลึกถึงองค์พ่อหลวง ร. 9 ของปวงชนชาวไทยกันดีกว่า
來一起聽聽這首歌緬懷泰國人民的九世王吧。


>>歌曲 & 九世王與樂隊演奏的詩篇

如此親民的先王,怎能讓百姓不愛戴呢?

 

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自komchadluek,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。

相關文章