當前位置

首頁 > 語言學習 > 泰語學習 > 能戰勝新冠的只有疫苗! 你知道泰國第一支疫苗何時問世嗎?

能戰勝新冠的只有疫苗! 你知道泰國第一支疫苗何時問世嗎?

推薦人: 來源: 閱讀: 2.29W 次

相信時下最被人們熱議的話題中一定有疫苗這個話題,當前新冠病毒肆虐,很多人都在等着疫苗救命,現在泰國社會上也充斥着各種關於疫苗的新聞。今天,我們就帶大家瞭解一下關於疫苗的故事。


ปี 2337 ขณะที่ทวีปยุโรปกำลังเผชิญกับการแพร่ระบาดอย่างรุนแรงของไข้ทรพิษ จนมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็ก นายแพทย์เอดเวิร์ด เจนเนอร์ (Edward Jenner) สังเกตเห็นว่า หญิงที่รีดนมวัวที่เคยติดโรคฝีดาษวัว (cowpox) แล้วจะไม่เป็นไข้ทรพิษ จึงได้เริ่มการค้นคว้าทดลองจนเป็นที่มาของ “วัคซีนเข็มแรก” ในโลก
1794年,整個歐洲正 在經歷着天花的肆虐,死亡人數巨大,尤其是兒童,一名叫做愛德華·詹納的醫生注意到,曾經患過牛痘的擠奶女工不會感染天花,於是就開始進行相關的實驗研 究,這就是世界上第一支疫苗的誕生。

能戰勝新冠的只有疫苗! 你知道泰國第一支疫苗何時問世嗎?

(圖源:視覺中國)

นายแพทย์เจนเนอร์ จึงได้ทดลองนำหนองจากแผลฝีดาษวัวของหญิงรีดนมวัวดังกล่าวไปทดลองกับสัตว์หลายชนิดจนมีผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ต่อมาในวันที่ 14 พฤษภาคม ปี 2339 จึงทดลองในคนเป็นครั้งแรกกับเด็กชายอายุ 8 ปี โดยการกรีดผิวหนังที่แขนแล้วนําหนองฝีดาษวัวใส่ลงไป จากนั้นอีกประมาณ 2 เดือน นายแพทย์เจนเนอร์นําเอาหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษไปทดลองสะกิดที่ผิวหนังของเด็กชายรายเดิม ผลปรากฏว่าเด็กชายผู้นั้นไม่ติดโรคไข้ทรพิษ
愛德華·詹納醫生從患有牛痘的擠奶女工的傷口上提取出膿液,在多種動物上進行了實驗,取得了令人滿意的成果。於是,在1796年5月14日首次在一個8歲 男孩身上進行了人體試驗,劃開手臂的皮膚放入牛痘膿液,過了兩個月之後,醫生將天花患者的膿液植入到男孩手臂感染牛痘的地方,發現這個男孩沒有感染天花。

หลังทําการทดสอบวิธีการดังกล่าวอีกหลายครั้ง ทั้งปรับปรุงการเตรียมหนองฝีให้มีประสิทธิภาพ จนมั่นใจว่าวิธีการดังกล่าวสามารถป้องกันไข้ทรพิษได้ จึงได้นํารายงานผลการทดลองเสนอต่อ ราชสมาคมแห่งลอนดอน (Royal Society of London) แต่กลับถูกส่งคืนอย่างไม่สนใจ
在進行了多次上述 實驗之後,調整準備了足夠活性的膿液,他確定這樣的方法可以幫助人們避免感染天花,於是將實驗結果提交至了倫敦皇家學會,但卻慘遭退回。

นายแพทย์เจนเนอร์จึงตัดสินใจตีพิมพ์ผลการศึกษาดังกล่าวด้วยทุนส่วนตัวออกเผยแพร่ ซึ่งยังคงถูกคัดค้านจากวงการแพทย์ เพราะเห็นว่าเป็นเรื่องหลอกลวง โดยมีการเชื่อมโยงกับกรณีของเลดี้ แมรี เวิร์ทเลย์ มองตากู (Lady Mary Wortley Montagu) ที่นําความรู้การปลูกฝีจากชาวจีนไปเผยแพร่ในประเทศอังกฤษเพื่อป้องกันไข้ทรพิษเมื่อปี 2264 แต่มีผู้ที่ได้รับการปลูกฝีบางรายป่วยเป็นไข้ทรพิษและเสียชีวิต
愛德華·詹納醫生決定用自己私人的資金對研究結果進行發表宣傳,但他還遭受了當時醫學界的反對,因爲認爲他是在騙人,還把他和瑪麗·蒙塔古·沃特利夫人於1721年將從中國借鑑的種痘技術在英國宣傳預防天花,但是導致有些病例感染天花甚至死亡的故事聯繫在一起。

能戰勝新冠的只有疫苗! 你知道泰國第一支疫苗何時問世嗎? 第2張

(圖源:視覺中國)

แม้ผลงานของในนายแพทย์เจนเนอร์จะถูกปฏิสเธจากวงการแพทย์ แต่กลับได้รับความนิยมจากประชาชน ประชาชนจำนวนมากให้ความเชื่อถือวิธีการของเขาว่าสามารถป้องกันไข้ทรพิษได้จริง การยอมรับขยายวงกว้างออกไปเรื่อย ๆ ในที่สุด รัฐสภาอังกฤษก็รับรองผลงานของนายแพทย์เจนเนอรเมื่อปี 2343 นายแพทย์เจนเนอร์เรียกหนองฝีวัวนั้นว่า “vaccine-วัคซีน” ซึ่งมาจากภาษาละตินว่า vacca แปลว่าวัว และเรียกวิธีการป้องกันโรคดังกล่าวว่า vaccination ยังใช้กันอย่างแพร่หลายถึงปัจจุบัน
雖然愛德華·詹 納的成果被醫學界否認,但是卻受到了民衆們的追捧,很多人都認爲他的做法真的可以預防天花,最終他的做法被越來越多的人所接受,英國國會也在1800年接受了他的實驗成果,愛德華·詹納將牛痘膿水爲vaccine,來自拉丁語vacca‘牛’,將這種預防傳染病的方式爲vaccination,並一直沿用至今。

ภายหลังก็มีการพัฒนาวัคซีนเรื่อยมา เช่น หลุยส์ ปาสเตอร์ (Louis Pasteur) ค้นพบวิธีการทําให้เชื้อที่ยังมีชีวิตอยู่มาทําให้อ่อนฤทธิ์และใช้เป็นวัคซีนเป็นครั้งแรก, โจเซฟ ลิสเตอร์ (Joseph Lister) ริเริ่มนำ antiseptic มาใช้ในทางการแพทย์ทําให้เกิดการผลิตวัคซีนชนิดเชื้อตายในระยะเวลาต่อมา ฯลฯ
後來,疫苗又不斷被髮展,路 易·巴斯德首次發明了活性病菌疫苗接種的方法,約瑟夫·李斯特開始在醫療中使用抗菌劑,促進了後來滅活疫苗的產生。

วัคซีนในไทยเริ่มต้นในสมัยรัชกาลที่ 3 มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม ปี 2378 โดยหมอบลัดเลย์ (Dr. Dan Beach Bradley) เป็นผู้นําเข้ามาเผยแพร่ เมื่อรัชกาลที่ 3 ทรงทราบ จึงรับสั่งให้หมอหลวงมาฝึกปลูกฝีกับหมอบลัดเลย์ และได้พระราชทานเงินรางวัลให้กับหมอบลัดเลย์และหมอหลวงที่ฝึกปลูกฝี
泰國的疫苗始於拉瑪三世,1835年12月2日接種了第一針劑預防天花的疫苗,由丹·比奇·布拉德利引進並傳播,當拉瑪三世得知後,就立即命令皇家醫生和布拉德利學習疫苗接種,還爲布拉德利和其他會接種疫苗的皇家醫生提供了資金獎勵。

โดยในระยะแรกต้องนำเข้าพันธุ์หนองฝีจากสหรัฐฯ ภายหลังหมอบลัดเลย์ได้ใช้การปลูกฝีด้วยวิธีการ variolation โดยการนําเอาหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษมาทําการปลูกฝี ซึ่งเป็นวิธีการที่ชาวจีนค้นพบ หากพบว่าการปลูกฝีด้วยวิธีดังกล่าวยังมีอันตราย จึงกลับมาใช้การนําพันธุ์หนองฝีวัวจากสหรัฐเช่นเดิม โดยคิดเงินค่าปลูกฝีคนละ 1 บาท (มีเงื่อนไขให้กลับมาติดตามตรวจดูผล หากฝีขึ้นดีจะคืนเงินให้ 50 สตางค์) โดยเงินที่ได้มาก็นําไปซื้อพันธุ์หนองฝีวัวมาใช้ต่อไป
開始的時候需要從美國進口膿液品種, 後來布拉德利採用了中國人發現的採集天花患者膿液的天花接種方式,但是發現這樣的方法仍然有一定的危險性,所以就繼續從美國進口膿液,疫苗接種的收費是每人1泰銖(需要跟蹤接種結果,如果牛痘長得好會退還50士丹),所收的錢用於進口牛痘膿液。

แม้ว่าปฏิบัติการดังกล่าวจะประสบความสําเร็จแต่ยังคงมีปัญหาว่าพันธุ์หนองฝีวัวต้องนำเข้าจากสหรัฐฯ ใช้เวลาเดินทางนานถึง 9 เดือน ทำให้หนองฝีเสื่อมคุณภาพ รัชกาลที่ 5 จึงมีพระราชดำริให้คิดทำหนองฝีขึ้นใช้เอง กระทรวงธรรมการจึงส่งนายแพทย์ของไทยไปศึกษาดูงานเรื่องดังกล่าวที่ประเทศฟิลิปปินส์ ได้แก่ พระบำบัดสรรพโรค หรือนายแพทย์แฮนซ์ อดัมเซ็น (Hans Adamsen) และหลวงวิฆเนศน์ประสิทธิวิทย์ (อัทย์ หสิตะเวช)
雖然這樣的方法卓有成效,但是從美國進口膿液需要9個月的時間,導致膿液的質量受損。拉瑪五世就下令自行製造膿液,教育部Hans Adamsen醫生和At Hasitawet去菲律賓觀看學習 疫苗技術。

เมื่อทั้งสองท่านกลับมาเมืองไทยก็มีการทำพันธุ์หนองฝีครั้งแรกที่สำนักงานบริเวณสี่กั๊กพระยาศรี (สี่แยกพระยาศรี) ต่อมากระทรวงธรรมการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง “กอเวอนเมนต์ซีร่ำแลโบแร็ตโตรี”สำหรับผลิตพันธุ์หนองฝีขึ้นใช้ปลูกป้องกันไข้ทรพิษภายในประเทศ ก่อนจะได้ย้ายสถานผลิตพันธุ์หนองฝีไปตั้งที่ตำบลห้วยจรเข้ จังหวัดนครปฐม
他們二位回來時候,泰國就在Si  Kak Phraya Sri附近的辦事處首次開始製作膿液。後來,教育部提議讓政府建立國家免疫血清實驗室,專門生產國內預防天花的牛痘疫苗,後來實驗室搬遷到了佛統府的Huai Chorakhe鎮。

能戰勝新冠的只有疫苗! 你知道泰國第一支疫苗何時問世嗎? 第3張


ต่อมาในปี 2454 หม่อมเจ้าหญิงบันลุศิริสาร ดิสกุล พระธิดาในสมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ ถูกสุนัขบ้ากัดจนถึงสิ้นชีพิตักษัย สมเด็จฯ กรมพระยาดํารงราชานุภาพ นําความขึ้นกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต รัชกาลที่ 6 เพื่อจัดตั้งสถานที่ดําเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคกลัวน้ำขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
1911年,丹龍·拉差努 帕的女兒被瘋狗咬傷,最終身亡,丹龍·拉差努帕將此事稟奏了國王,爲的是請求拉瑪六世御賜資金,最終促進建成了泰國第一個狂犬病疫苗接種場所。

ในการนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานเงินอดุหนุนเป็นปฐมฤกษ์ โดยให้ใช้ตึกหลวงที่ถนนบํารุงเมืองเป็นสถานที่ทําการชั่วคราวเรียกวา “ปาสตุระสภา”เปิดทำการ 26 เมษายน ปี 2456 และให้ย้ายกิจการทําพันธุ์หนองฝีและทําวัคซีนอื่นที่อยู่ทางจังหวัดนครปฐม มาดําเนินการอยู่ด้วยกัน เดือนสิงหาคม ปี 2460 เปลี่ยนชื่อเป็น “สถานปาสเตอร์”
在這次事件中,紹瓦帕·蓬西太后御賜了資金,還將Bamrungmuang路附近的皇家大樓御賜稱爲臨時辦事處,1913年4月26日投入使用,命名爲“Pasturasapha”,還把在佛統府進行的天花疫苗及其他疫苗研究也遷移到此處,1917年8月更名爲“巴斯德研究所”。

ต่อมา สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง สวรรคต ในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพวันที่ 24 พฤษภาคม ปี 2463 รัชกาลที่ 6 มีพระราชประสงค์จะสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์เพื่อเชิดชูพระเกียรติยศพระราชชนนี จึงทรงอุทิศที่ดิน 46 ไร่ ริมถนนพระราม 4 บริเวณใกล้ ๆ กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ 258,000 บาท มอบให้สภากาชาดไทย สำหรับสร้างอาคารใหญ่หลังหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่ทำการแห่งใหม่ของสถานปาสเตอร์ ขนานนามว่า “ตึกสภานายิกา”
後來,紹瓦 帕·蓬西太后去世,在1920年5月24日舉行的葬禮上,拉瑪六世爲了紀念太后在國民健康事業做出的功績,向朱拉隆功醫院御賜了Rama4路邊的46萊土地,向泰國紅十字會捐贈258,000泰銖的私人財產,爲的是建立泰國新的巴斯德辦事處,命名爲“Sapha Yanika”。

ภายรัชกาลที่ 6 พระราชทานนามใหม่สถานที่ใหม่ว่า “สถานเสาวภา” แทนสถานปาสเตอร์ และเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ปี 2465 กิจการทั้งหมดของสถานปาสเตอร์ ถนนบำรุงเมือง ย้ายมาดำเนินการที่ทำการใหม่ทั้งหมด
拉瑪六世將巴斯德辦事處更名爲“ Saowapha 研究所”,在1922年12月7日親臨首開現場,Bamrungmuang路的巴斯德研究所的所有工作都轉移到了新的工作場地。


全中國人免費接種疫苗,相信大家一定都感到安全和幸福吧!還沒有接種的小夥伴不要再等啦!

聲明:本文由滬江泰語編譯整理,素材來自silpa-mag,未經允許不得轉載。如有不妥,敬請指正。